วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

นิวคลีโอโซม (Nucleosome) คือ อะไร (What is Nucleosome ?)

นิวคลีโอโซม (Nucleosome) คือ อะไร (What is Nucleosome ?)


นิวคลีโอโซม (Nucleosome)
     นิวคลีโอโซม (Nucleosome) คือ หน่วยย่อยของโครโมโซม (chromosome) โดยที่โครโมโซม (chromosome)ประกอบด้วยโครงสร้างคล้ายสายลูกปัดซึ่งตัวลูกปัดที่อยู่บนสายนั้นถูกเรียกว่า นิวคลีโอโซม (Nucleosome) หรือกล่าวได้ว่า นิวคลีโอโซม (Nucleosome) เป็นหน่วยย่อยของโครมาทิน(chromatin)
            แต่ละนิวคลีโอโซม (nucleosome)ประกอบด้วยโปรตีนฮิสโตน(Histone protein)ชนิด H2A, H2B, H3 และ H4 อย่างละ 2 โมเลกุลรวมกันเป็น 8 โมเลกุล เรียกว่า ออกทาเมอร์ (octamer) เกาะกัน มีสายดีเอ็นเอ(DNA) ประมาณ 200 คู่เบสพันรอบออกทาเมอร์ (octamer) 2 รอบ โดยมีโปรตีนฮิสโตนชนิด H1 หนึ่งโมเลกุลคอยยึดเหนี่ยวโมเลกุลที่ประกอบกันเป็นลูกปัดอีกที เมื่อมีลูกปัดแบบนี้หลายอันทำให้มีลักษณะเหมือน ลูกปัดที่ถูกร้อยด้วยเส้นด้าย(beads on a string) โดยเส้นด้ายคือ สายดีเอ็นเอ(DNA)ที่เป็นตัวเชื่อม(linker DNA) การที่นิวคลีโอโซม (nucleosome)ประกอบด้วยโมเลกุลจำพวก กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) อย่างดีเอ็นเอ(DNA) และ โปรตีนฮิสโตน(Histone protein) แล้วทำให้นิวคลีโอโซม (nucleosome)เป็นพวกนิวคลีโอโปรตีน (nucleoprotein) และแต่ละนิวคลีโอโซม (nucleosome)มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 11 นาโนเมตร
        จำง่ายๆเลย  ก็คือนิวคลีโอโซมคือโครมาทินที่พันรอบกลุ่มโปรตีนฮีสโทน

เซนโทรเมียร์ คือ อะไร (What is Centromere?)


เซนโทรเมียร์
     เซนโทรเมียร์หรือเซนโตรเมียร์(Centromere) คือ ตำแหน่งหนึ่งบนโครโมโซม(Chromosome)จะมีลักษณะเป็นรอยคอดที่บนโครโมโซม(Chromosome)และเป็นที่อยู่ของโปรตีนไคนีโตคอร์หรือไคนีโทคอร์(Kinetochore)
 ดีเอ็นเอ(DNA)ในบริเวณตำแหน่งเซนโทรเมียร์(Centromere) จะขดตัวแน่นกว่าบริเวณอื่นของโครโมโซม(Chromosome)แม้แต่ในขณะเกิดการจำลองตัวของโครโมโซม(Chromosome)อยู่ก็ตามที นอกจากนี้ในขณะเกิดการแบ่งเซลล์เส้นใยสปินเดิล(Spindle Fiber)จะมาเกาะที่โปรตีนไคนีโตคอร์หรือไคนีโทคอร์(Kinetochore)ที่อยู่ที่ตำแหน่งเซนโทรเมียร์(Centromere) และยังเป็นตำแหน่งที่เชื่อมติดกันระหว่างโครมาทิด (Chromatid) 2โครมาทิด (Chromatid) อีกด้วย
     จากตำแหน่งของเซนโทรเมียร์(Centromere) ทำให้เห็นคล้ายโครโมโซม(Chromosome)ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน และจะเรียกแต่ละส่วนว่าแขน
 -แขนสั้น เรียกว่าแขน  P 
 -แขนยาว เรียกว่าแขน Q (ให้จำว่าเข้าคิวยาวมากเลย)
    

โฮโมโลกัสโครโมโซม(Homologous chromosome) คือ อะไร (What is homologous chromosome ?)




     โฮโมโลกัสโครโมโซม (Homologous Chromosome) คือ โครโมโซม(chromosome)ที่เป็นคู่ที่เหมือนกัน มียีน(gene)ที่ควบคุมลักษณะเดียวกันอยู่บนตำแหน่งเดียวกันบนโครโมโซม(chromosome)ที่เป็นคู่กัน

     ซึ่งโดยปกติแล้วโครโมโซม(chromosome)ในเซลล์(cell)ของร่างกาย จะมีรูปร่างรวมถึงลักษณะที่เหมือนกันและความยาวที่เท่ากัน เป็นคู่ ๆ โดยแต่ละคู่จะถูกเรียกว่า โฮโมโลกัสโครโมโซม (homologous chromosome)

ความแตกต่างระหว่าง โครมาทิน (chromatin) กับ โครมาทิด (chromatid) และความเกี่ยวพันกัน

ความแตกต่างระหว่าง โครมาทิน (chromatin) กับ โครมาทิด (chromatid) และความเกี่ยวพันกัน

     ความแตกต่างระหว่าง โครมาทิน (chromatin) กับ โครมาทิด (chromatid) คือ
     โครมาทิน (Chromatin) จะมองเห็นเป็นเส้นใย และ มักพบเห็นชัดในช่วงที่เซลล์ไม่มีการแบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟส (interphase) ส่วน โครมาทิด (chromatid) จะมองเห็นเป็นคู่แท่งติดกัน หรือเส้นคู่ติดกัน ที่เซนโทรเมียร์ (Centromere) และ มักพบเห็นชัดในช่วงที่เซลล์มีการแบ่งตัวที่อยู่ในระยะเมตาเฟส (metaphase)

ความเกี่ยวพันระหว่าง โครมาทิน(chromatin) กับ โครมาทิด (chromatid) คือ
     
โครมาทิด (Chromatid) คือ เส้นใยโครมาทิน (Chromatin)ที่ถูกจำลองขึ้นมาเป็น 2 เส้นโดยที่เส้นใยโครมาทิน (Chromatin)อาจมีลักษณะขดตัวจนแน่นเป็นลักษณะคล้ายแท่ง 2 แท่งติดกัน โดย 1 โครมาทิด (chromatid) คือ 1 เส้นใยโครมาทิน (chromatin) ส่วน 2 โครมาทิด (chromatid) คือ 2 เส้นใยโครมาทิน(chromatin)ในระยะช่วงกลางของการแบ่งเซลล์โครมาทิน (chromatin)จะขดตัวจนแน่นเป็นลักษณะคล้ายแท่งติดกันที่ เซนโทรเมียร์(Centromere) เห็นเป็นโครมาทิด


โครมาทิด (chromatid) คือ อะไร (What is chromatid ?)

โครมาทิด (chromatid) คือ อะไร (What is chromatid ?)


โครมาทิด (Chromatid)




                 โครมาทิด หรือ โครมาติด (Chromatid) คือ โครโมโซม(chromosome)ที่ได้จำลองตัวเองจนมีลักษณะเป็นเส้นคู่ ทำให้เห็นแท่งโครโมโซม(chromosome)มี 2 โครมาทิด(Chromatid)ที่เหมือนกันทุกประการ และติดกันที่ เซนโทรเมียร์(Centromere) โดยโครมาทิด (chromatid) สามารถพบเห็นได้ในขั้นตอนของการแบ่งเซลล์โดยเฉพาะในระยะเมตาเฟส (metaphase) จะสามารถเห็นได้ชัดโดยมองผ่านกล้องจุลทรรศน์

***ควรรู้
Homologous chromosome    เป็นคู่ของโครโมโซมที่มีลักษณะเหมือนกันอยู่คู่กัน
Sister chromatid       โครมาทิดที่อยู่ในโครโมโซมเดียวกัน
Nonsisterchromatid   โครมาทิดที่อยู่คนละโครโมโซม
Allele                             ตำแหน่งของยีนที่อยู่ตรงกันบนโฮโมโลกัสโครโมโซม
Locus                            เป็นตำแหน่งของยีนบนโครโมโซม

โครมาทิน (chromatin) คือ อะไร (What is chromatin ?)

โครมาทิน (chromatin) คือ อะไร (What is chromatin ?)


โครมาทิน หรือ โครมาติน (chromatin)
โครมาทิน หรือ โครมาติน (chromatin) คือ สายของดีเอ็นเอ(DNA)สายยาวเพียงสายเดียวที่พันตัวรอบโปรตีนที่ชื่อ“ฮิสโตน(histone)เอาไว้ ทำให้รูปร่างของโครมาทิน(chromatin) มีรูปร่างคล้ายลูกปัดที่มีลักษณะเรียงต่อๆกัน โดยมีสายของดีเอ็นเอ(DNA)พันรอบลูกปัดนั้นอยู่ โครมาทิน(chromatin) จึงเป็นสารประเภท “นิวคลีโอโปรตีน (Nucleoprotein)” [มาจากคำว่า Nucleic + Protein ซึ่งดีเอ็นเอ(DNA)เป็นพวก Nucleic acid ส่วนฮิสโตน(histone) เป็นโปรตีน]
นอกจากนี้ในโครมาทิน(chromatin)ยังประกอบด้วยโปรตีนที่ไม่ใช่ฮิสโตน (nonhistone)อีกด้วย โดยโครมาทิน(chromatin) จะพบในส่วนของนิวเคลียสเมื่อทำการย้อมสีเซลล์ของเซลล์แบบทั่วๆไป ในส่วนของโครมาทิน(chromatin) จะสามารถติดสีได้ดีและมีรูปร่างคล้ายเส้นใยตาข่าย (chromatin network) ละเอียดๆ จึงทำให้เห็นส่วนของนิวเคลียสได้ชัดเจน โดยโครมาทิน(chromatin)มักพบได้ในช่วงที่เซลล์ไม่มีการแบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟส (interphase)
     ในการย้อมสีของ โครมาทิน(chromatin) จะติดสีที่มีความเข้มต่างกัน คือในส่วนที่ติดสีเข้มจะเป็นส่วนที่ไม่มียีน(gene)อยู่เลย หรือมีก็น้อยมาก เรียกว่า เฮเทอโรโครมาทิน (heterochromatin) ส่วนที่ย้อมติดสีจาง เรียกว่า ยูโครมาทิน (euchromatin) ซึ่งเป็นส่วนของตำแหน่งของยีน(gene)ในขณะที่เซลล์กำลังมีการแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งถ้าโครมาทิน(chromatin) มีการขดตัวสั้นจนมีลักษณะเป็นแท่งจะเรียกว่า โครโมโซม(chromosome)และเมื่อโครโมโซม(chromosome)ได้จำลองตัวเองจนมีลักษณะเป็นเส้นคู่ จะเรียกว่า โครมาทิด หรือ โครมาติด (chromatid)

โครโมโซมเพศ (sex chromosome) คือ อะไร (What is sex chromosome ?)


โครโมโซมเพศ (sex chromosome) คือ อะไร (What is sex chromosome ?)





     โครโมโซมเพศ (sex chromosome) คือ ชื่อเรียกของโครโมโซม(chromosome)ที่ควบคุมลักษณะทางเพศหรือเป็นตัวกำหนดเพศ

โครโมโซมเพศ (sex chromosome)ในเซลล์ร่างกายของคนมีจำนวน 1 คู่ คือ โครโมโซม(chromosome) X และ โครโมโซม(chromosome) Y ที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน โดยเพศหญิงถูกกำหนดด้วยโครโมโซม(chromosome) X จำนวน 2 แท่ง คือ XX ส่วนเพศชายถูกกำหนดด้วยโครโมโซม(chromosome) X จำนวน 1 แท่ง และโครโมโซม(chromosome) Y จำนวน 1 แท่ง คือ XY ในขณะที่เซลล์สืบพันธุ์ของคนจะมีโครโมโซมเพศ (sex chromosome)เพียง 1 แท่ง คือ เป็น X หรือ Y ในเพศชาย เป็น X ในเพศหญิง

     ซึ่งโดยปกติโครโมโซม(chromosome)ของคนมีทั้งหมดจำนวน 23 คู่เป็นออโตโซม(autosome)จำนวน 22 คู่ เป็นโครโมโซมเพศ(sex chromosome)จำนวน 1 คู่