วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

นิวคลีโอโซม (Nucleosome) คือ อะไร (What is Nucleosome ?)

นิวคลีโอโซม (Nucleosome) คือ อะไร (What is Nucleosome ?)


นิวคลีโอโซม (Nucleosome)
     นิวคลีโอโซม (Nucleosome) คือ หน่วยย่อยของโครโมโซม (chromosome) โดยที่โครโมโซม (chromosome)ประกอบด้วยโครงสร้างคล้ายสายลูกปัดซึ่งตัวลูกปัดที่อยู่บนสายนั้นถูกเรียกว่า นิวคลีโอโซม (Nucleosome) หรือกล่าวได้ว่า นิวคลีโอโซม (Nucleosome) เป็นหน่วยย่อยของโครมาทิน(chromatin)
            แต่ละนิวคลีโอโซม (nucleosome)ประกอบด้วยโปรตีนฮิสโตน(Histone protein)ชนิด H2A, H2B, H3 และ H4 อย่างละ 2 โมเลกุลรวมกันเป็น 8 โมเลกุล เรียกว่า ออกทาเมอร์ (octamer) เกาะกัน มีสายดีเอ็นเอ(DNA) ประมาณ 200 คู่เบสพันรอบออกทาเมอร์ (octamer) 2 รอบ โดยมีโปรตีนฮิสโตนชนิด H1 หนึ่งโมเลกุลคอยยึดเหนี่ยวโมเลกุลที่ประกอบกันเป็นลูกปัดอีกที เมื่อมีลูกปัดแบบนี้หลายอันทำให้มีลักษณะเหมือน ลูกปัดที่ถูกร้อยด้วยเส้นด้าย(beads on a string) โดยเส้นด้ายคือ สายดีเอ็นเอ(DNA)ที่เป็นตัวเชื่อม(linker DNA) การที่นิวคลีโอโซม (nucleosome)ประกอบด้วยโมเลกุลจำพวก กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) อย่างดีเอ็นเอ(DNA) และ โปรตีนฮิสโตน(Histone protein) แล้วทำให้นิวคลีโอโซม (nucleosome)เป็นพวกนิวคลีโอโปรตีน (nucleoprotein) และแต่ละนิวคลีโอโซม (nucleosome)มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 11 นาโนเมตร
        จำง่ายๆเลย  ก็คือนิวคลีโอโซมคือโครมาทินที่พันรอบกลุ่มโปรตีนฮีสโทน

เซนโทรเมียร์ คือ อะไร (What is Centromere?)


เซนโทรเมียร์
     เซนโทรเมียร์หรือเซนโตรเมียร์(Centromere) คือ ตำแหน่งหนึ่งบนโครโมโซม(Chromosome)จะมีลักษณะเป็นรอยคอดที่บนโครโมโซม(Chromosome)และเป็นที่อยู่ของโปรตีนไคนีโตคอร์หรือไคนีโทคอร์(Kinetochore)
 ดีเอ็นเอ(DNA)ในบริเวณตำแหน่งเซนโทรเมียร์(Centromere) จะขดตัวแน่นกว่าบริเวณอื่นของโครโมโซม(Chromosome)แม้แต่ในขณะเกิดการจำลองตัวของโครโมโซม(Chromosome)อยู่ก็ตามที นอกจากนี้ในขณะเกิดการแบ่งเซลล์เส้นใยสปินเดิล(Spindle Fiber)จะมาเกาะที่โปรตีนไคนีโตคอร์หรือไคนีโทคอร์(Kinetochore)ที่อยู่ที่ตำแหน่งเซนโทรเมียร์(Centromere) และยังเป็นตำแหน่งที่เชื่อมติดกันระหว่างโครมาทิด (Chromatid) 2โครมาทิด (Chromatid) อีกด้วย
     จากตำแหน่งของเซนโทรเมียร์(Centromere) ทำให้เห็นคล้ายโครโมโซม(Chromosome)ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน และจะเรียกแต่ละส่วนว่าแขน
 -แขนสั้น เรียกว่าแขน  P 
 -แขนยาว เรียกว่าแขน Q (ให้จำว่าเข้าคิวยาวมากเลย)
    

โฮโมโลกัสโครโมโซม(Homologous chromosome) คือ อะไร (What is homologous chromosome ?)




     โฮโมโลกัสโครโมโซม (Homologous Chromosome) คือ โครโมโซม(chromosome)ที่เป็นคู่ที่เหมือนกัน มียีน(gene)ที่ควบคุมลักษณะเดียวกันอยู่บนตำแหน่งเดียวกันบนโครโมโซม(chromosome)ที่เป็นคู่กัน

     ซึ่งโดยปกติแล้วโครโมโซม(chromosome)ในเซลล์(cell)ของร่างกาย จะมีรูปร่างรวมถึงลักษณะที่เหมือนกันและความยาวที่เท่ากัน เป็นคู่ ๆ โดยแต่ละคู่จะถูกเรียกว่า โฮโมโลกัสโครโมโซม (homologous chromosome)

ความแตกต่างระหว่าง โครมาทิน (chromatin) กับ โครมาทิด (chromatid) และความเกี่ยวพันกัน

ความแตกต่างระหว่าง โครมาทิน (chromatin) กับ โครมาทิด (chromatid) และความเกี่ยวพันกัน

     ความแตกต่างระหว่าง โครมาทิน (chromatin) กับ โครมาทิด (chromatid) คือ
     โครมาทิน (Chromatin) จะมองเห็นเป็นเส้นใย และ มักพบเห็นชัดในช่วงที่เซลล์ไม่มีการแบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟส (interphase) ส่วน โครมาทิด (chromatid) จะมองเห็นเป็นคู่แท่งติดกัน หรือเส้นคู่ติดกัน ที่เซนโทรเมียร์ (Centromere) และ มักพบเห็นชัดในช่วงที่เซลล์มีการแบ่งตัวที่อยู่ในระยะเมตาเฟส (metaphase)

ความเกี่ยวพันระหว่าง โครมาทิน(chromatin) กับ โครมาทิด (chromatid) คือ
     
โครมาทิด (Chromatid) คือ เส้นใยโครมาทิน (Chromatin)ที่ถูกจำลองขึ้นมาเป็น 2 เส้นโดยที่เส้นใยโครมาทิน (Chromatin)อาจมีลักษณะขดตัวจนแน่นเป็นลักษณะคล้ายแท่ง 2 แท่งติดกัน โดย 1 โครมาทิด (chromatid) คือ 1 เส้นใยโครมาทิน (chromatin) ส่วน 2 โครมาทิด (chromatid) คือ 2 เส้นใยโครมาทิน(chromatin)ในระยะช่วงกลางของการแบ่งเซลล์โครมาทิน (chromatin)จะขดตัวจนแน่นเป็นลักษณะคล้ายแท่งติดกันที่ เซนโทรเมียร์(Centromere) เห็นเป็นโครมาทิด


โครมาทิด (chromatid) คือ อะไร (What is chromatid ?)

โครมาทิด (chromatid) คือ อะไร (What is chromatid ?)


โครมาทิด (Chromatid)




                 โครมาทิด หรือ โครมาติด (Chromatid) คือ โครโมโซม(chromosome)ที่ได้จำลองตัวเองจนมีลักษณะเป็นเส้นคู่ ทำให้เห็นแท่งโครโมโซม(chromosome)มี 2 โครมาทิด(Chromatid)ที่เหมือนกันทุกประการ และติดกันที่ เซนโทรเมียร์(Centromere) โดยโครมาทิด (chromatid) สามารถพบเห็นได้ในขั้นตอนของการแบ่งเซลล์โดยเฉพาะในระยะเมตาเฟส (metaphase) จะสามารถเห็นได้ชัดโดยมองผ่านกล้องจุลทรรศน์

***ควรรู้
Homologous chromosome    เป็นคู่ของโครโมโซมที่มีลักษณะเหมือนกันอยู่คู่กัน
Sister chromatid       โครมาทิดที่อยู่ในโครโมโซมเดียวกัน
Nonsisterchromatid   โครมาทิดที่อยู่คนละโครโมโซม
Allele                             ตำแหน่งของยีนที่อยู่ตรงกันบนโฮโมโลกัสโครโมโซม
Locus                            เป็นตำแหน่งของยีนบนโครโมโซม

โครมาทิน (chromatin) คือ อะไร (What is chromatin ?)

โครมาทิน (chromatin) คือ อะไร (What is chromatin ?)


โครมาทิน หรือ โครมาติน (chromatin)
โครมาทิน หรือ โครมาติน (chromatin) คือ สายของดีเอ็นเอ(DNA)สายยาวเพียงสายเดียวที่พันตัวรอบโปรตีนที่ชื่อ“ฮิสโตน(histone)เอาไว้ ทำให้รูปร่างของโครมาทิน(chromatin) มีรูปร่างคล้ายลูกปัดที่มีลักษณะเรียงต่อๆกัน โดยมีสายของดีเอ็นเอ(DNA)พันรอบลูกปัดนั้นอยู่ โครมาทิน(chromatin) จึงเป็นสารประเภท “นิวคลีโอโปรตีน (Nucleoprotein)” [มาจากคำว่า Nucleic + Protein ซึ่งดีเอ็นเอ(DNA)เป็นพวก Nucleic acid ส่วนฮิสโตน(histone) เป็นโปรตีน]
นอกจากนี้ในโครมาทิน(chromatin)ยังประกอบด้วยโปรตีนที่ไม่ใช่ฮิสโตน (nonhistone)อีกด้วย โดยโครมาทิน(chromatin) จะพบในส่วนของนิวเคลียสเมื่อทำการย้อมสีเซลล์ของเซลล์แบบทั่วๆไป ในส่วนของโครมาทิน(chromatin) จะสามารถติดสีได้ดีและมีรูปร่างคล้ายเส้นใยตาข่าย (chromatin network) ละเอียดๆ จึงทำให้เห็นส่วนของนิวเคลียสได้ชัดเจน โดยโครมาทิน(chromatin)มักพบได้ในช่วงที่เซลล์ไม่มีการแบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟส (interphase)
     ในการย้อมสีของ โครมาทิน(chromatin) จะติดสีที่มีความเข้มต่างกัน คือในส่วนที่ติดสีเข้มจะเป็นส่วนที่ไม่มียีน(gene)อยู่เลย หรือมีก็น้อยมาก เรียกว่า เฮเทอโรโครมาทิน (heterochromatin) ส่วนที่ย้อมติดสีจาง เรียกว่า ยูโครมาทิน (euchromatin) ซึ่งเป็นส่วนของตำแหน่งของยีน(gene)ในขณะที่เซลล์กำลังมีการแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งถ้าโครมาทิน(chromatin) มีการขดตัวสั้นจนมีลักษณะเป็นแท่งจะเรียกว่า โครโมโซม(chromosome)และเมื่อโครโมโซม(chromosome)ได้จำลองตัวเองจนมีลักษณะเป็นเส้นคู่ จะเรียกว่า โครมาทิด หรือ โครมาติด (chromatid)

โครโมโซมเพศ (sex chromosome) คือ อะไร (What is sex chromosome ?)


โครโมโซมเพศ (sex chromosome) คือ อะไร (What is sex chromosome ?)





     โครโมโซมเพศ (sex chromosome) คือ ชื่อเรียกของโครโมโซม(chromosome)ที่ควบคุมลักษณะทางเพศหรือเป็นตัวกำหนดเพศ

โครโมโซมเพศ (sex chromosome)ในเซลล์ร่างกายของคนมีจำนวน 1 คู่ คือ โครโมโซม(chromosome) X และ โครโมโซม(chromosome) Y ที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน โดยเพศหญิงถูกกำหนดด้วยโครโมโซม(chromosome) X จำนวน 2 แท่ง คือ XX ส่วนเพศชายถูกกำหนดด้วยโครโมโซม(chromosome) X จำนวน 1 แท่ง และโครโมโซม(chromosome) Y จำนวน 1 แท่ง คือ XY ในขณะที่เซลล์สืบพันธุ์ของคนจะมีโครโมโซมเพศ (sex chromosome)เพียง 1 แท่ง คือ เป็น X หรือ Y ในเพศชาย เป็น X ในเพศหญิง

     ซึ่งโดยปกติโครโมโซม(chromosome)ของคนมีทั้งหมดจำนวน 23 คู่เป็นออโตโซม(autosome)จำนวน 22 คู่ เป็นโครโมโซมเพศ(sex chromosome)จำนวน 1 คู่

ออโตโซม (autosome) คือ อะไร (What is autosome ?)

ออโตโซม (autosome) คือ อะไร (What is autosome ?)


     ออโตโซม (autosome) คือ ชื่อเรียกโครโมโซม(chromosome)หรือกลุ่มของโครโมโซม(chromosome)ที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมและลักษณะต่างๆของร่างกาย ยกเว้น ลักษณะที่เกี่ยวกับเพศ ออโตโซม(autosome)มีเหมือนกันทั้งเพศชายและเพศหญิงออโตโซม(autosome) ในเซลล์ร่างกายของคน(2n)มี 22 คู่ ถูกแบ่งเป็น 7 กลุ่ม คือ A B C D E F G แต่ออโตโซม(autosome) ในเซลล์สืบพันธุ์(n)มีแค่ 22 แท่ง ซึ่งโดยปกติแล้วโครโมโซม(chromosome)ของคนมีทั้งหมด 23 คู่เป็นออโตโซม (autosome) 22 คู่ เป็นโครโมโซมเพศ(sex chromosome) 1 คู่

โครงสร้างของโครโมโซม (Structure of Chromosome)

โครงสร้างของโครโมโซม (Structure of Chromosome)















     โครโมโซม(Chromosome)สามารถพบได้ในนิวเคลียสของเซลล์สิ่งมีชีวิตทั่วไป โดยสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดอาจมีจำนวนและรูปร่างโครโมโซม(Chromosome)แตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้วทุกๆ เซลล์ภายในของสิ่งมีชีวิตจะมีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)เท่ากัน
           ยกเว้นในเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งจะมีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)ลดลงครึ่งหนึ่ง และในเซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียสซึ่งจะไม่พบโครโมโซม(Chromosome) ถ้าหากตัดโครโมโซม(Chromosome)ระยะเมตาเฟส (Metaphase) ออกมาส่วนหนึ่งจะพบว่ามีลักษณะเป็นเส้นใยโครมาติน(Chromatin fiber)ที่อัดตัวกันแน่น ซึ่งหากยืดเส้นใยเหล่านี้ออกจะพบว่าเป็นส่วนของนิวคลีโอโซม(Nucleosome)ที่เชื่อมต่อกันและขดเป็นวงแหวนโซลีนอยด์ (solenoid) เรียกว่า ซุปเปอร์คอยด์ นิวคลีโอโซม (Supercoiled nucleosome) ถ้ายืดเส้นใยนี้ออกอีกจะพบว่าแต่ละนิวคลีโอโซม(Nucleosome) มีสายดีเอ็นเอ(DNA)พันอยู่ 2 รอบเรียก coiled nucleosome ซึ่งนิวคลีโอโซม(Nucleosome)เหล่านี้แท้จริงคือโปรตีนฮิสโตน(Histone Protein) 8 ก้อนที่เกาะติดกันเรียกทั่วไปว่า histone octamer และยังมีโปรตีนฮิสโตน 1 ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมให้สายดีเอ็นเอ(DNA)ที่พันรอบนั้นคงอยู่ได้ และทำให้นิวคลีโอโซม(Nucleosome)เชื่อมเป็นสายต่อเนื่องกันด้วย

โครโมโซม (Chromosome) คืออะไร

โครโมโซม (Chromosome) คืออะไร






     โครโมโซม (Chromosome)เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA)รวมถึงหน่วยพันธุกรรมหรือยีน(gene)[ยีน(gene)ก็อยู่ใน ดีเอ็นเอ (DNA) อีกที] ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และผิว
         โครโมโซม(Chromosome) แปลว่าสิ่งย้อมสีติด เพราะโครโมโซม(Chromosome)สามารถย้อมสีให้ติดได้
     เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์มองโครโมโซม(Chromosome)จะเห็นมีลักษณะคล้ายๆเส้นด้ายบางๆ เรียกว่า “โครมาติน (chromatin) หรือ เส้นใยโครมาติน(chromatin fiber)” ขดตัวอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ เมื่อมีการแบ่งเซลล์จะมีการแบ่งโครโมโซม(Chromosome)เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อเซลล์เริ่มมีการแบ่งตัว เส้นใยโครมาติน(chromatin fiber)จะหดและขดตัวจนมีลักษณะเป็นแท่ง เรียกว่า “โครโมโซม (Chromosome)” แต่ละโครโมโซม (Chromosome) ประกอบด้วยแขนสองข้างที่เรียกว่า “โครมาทิด (chromatid)” ซึ่งแขนทั้งสองข้างจะมีจุดเชื่อมกัน เรียกว่า “เซนโทรเมียร์ (Centromere)”
     สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)เท่ากันเสมอ ยกเว้นกรณีเกิดการผิดปกติบางอย่าง เช่น ผิดปกติในขณะการแบ่งเซลล์
     สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันมักมีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)ไม่เท่ากันแต่ก็อาจมีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)เท่ากันได้
     จำนวนโครโมโซม(Chromosome)ที่มาก ไม่สัมพันธ์กับขนาดของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างเช่น ยูกลีนา ที่มีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)ถึง 90 แท่งแต่มีขนาดเล็กมาก ในขณะที่คนมีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)แค่ 46 แท่ง
     สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ มีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)ในเซลล์ร่างกายอยู่ 2 ชุด หรือเรียกว่า 2n (diploid)ส่วนในเซลล์สืบพันธุ์มีจำนวนโครโมโซม (Chromosome)เพียงชุดเดียวเรียกว่า n หรือ แฮพลอยด์(haploid)ล
    โครโมโซมแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ออโทโซม(Autosome) และโครโมโซมเพศ (Sex chromosome)

ความแตกต่างระหว่างดีเอ็นเอ(DNA)และอาร์เอ็นเอ(RNA) (Difference between DNA and RNA)

ความแตกต่างระหว่างดีเอ็นเอ(DNA)และอาร์เอ็นเอ(RNA) (Difference between DNA and RNA)











     1.ดีเอ็นเอ(DNA)โดยทั่วไปมีสภาพเป็นสายคู่(double strand)ส่วนอาร์เอ็นเอ(RNA)โดยทั่วไปมีสภาพเป็นสายเดี่ยว(single strand)
   2.ดีเอ็นเอ (DNA)มีไนโตรจีนัสเบส(nitrogenous base)เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ A(อะดีนีน) และ G(กัวนีน)ที่เป็น พวกพิวรีนหรือเพียวรีน (Purine) และ T(ไทมีน) และ C(ไซโตซีน)ที่เป็น พวกไพริมิดีน (Pyrimidine) แต่อาร์เอ็นเอ(RNA)มีเบส U(ยูราซิล)เข้ามาแทนที่เบส T (ไทมีน) คือ มี A(อะดีนีน), G(กัวนีน), C(ไซโตซีน)และ U(ยูราซิล)
   3.ดีเอ็นเอ (DNA) มีน้ำตาลดีออกซีไรโบส(deoxyribose)เป็นองค์ประกอบ ส่วนอาร์เอ็นเอ(RNA)มีน้ำตาลไรโบส(ribose)เป็นองค์ประกอบ
  

อาร์เอ็นเอ (RNA) คือ อะไร (What is RNA ?)

อาร์เอ็นเอ (RNA) คือ อะไร (What is RNA ?)


RNA
     อาร์เอ็นเอ (RNA) หรือเรียกว่า กรดไรโบนิวคลีอิก (Ribonucleic acid – RNA) คือสายพอลิเมอร์ของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) ที่ไม่มีการแตกกิ่งก้านสาขา มีความยาวสั้นกว่าโมเลกุลของ DNA มาก มีโครงสร้างคล้าย DNA โดยอาร์เอ็นเอ (RNA) ประกอบด้วย น้ำตาลไรโบส (Ribose), เบส 4 ชนิด อันประกอบด้วย อะดีนีน (Adenine, A) , ยูราซิล (Uracil, U) , ไซโตซีน (Cytosine, C) และกัวนีน (Guanine, G) และหมู่ฟอสเฟต

โดยอาร์เอ็นเอ (RNA) ส่วนใหญ่จะเป็นโพลีนิวคลีโอไทด์สายเดี่ยว(single strand) ซึ่งประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) เชื่อมต่อกันด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ (phosphodiester bond เป็นพันธะโคเวเลนต์ประเภทหนึ่ง) โดยเบสยูราซิลจะสามารถเชื่อมกับอะดีนีนแทนไทมีนได้ อาร์เอ็นเอ (RNA)เกิดจากการคัดสำเนาข้อมูล หรือเรียกว่าการถอดรหัส (transcription) จากดีเอ็นเอ (DNA)โดยเอนไซม์อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส (RNA Polymerase) แล้วเข้ากระบวนการต่อเนื่องโดยเอนไซม์อื่นๆ อีก อาร์เอ็นเอ(RNA) จะทำหน้าที่เหมือนแม่แบบ(Template)สำหรับแปลข้อมูลจากยีนไปเป็นข้อมูลในโปรตีน แล้วขนย้ายกรดอะมิโนเข้าไปในออร์แกเนลล์ไรโบโซม(ribosome)ของเซลล์ เพื่อผลิตโปรตีน และแปลรหัส (translation) เป็นข้อมูลในโปรตีน
ชนิดของ อาร์เอ็นเอ (RNA)มีทั้งหมด 3 ชนิด คือ
     1.เอ็มอาร์เอ็นเอ หรือ เมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ (messenger RNAmRNA)
     2.ทีอาร์เอ็นเอ หรือ ทรานสเฟอร์ อาร์เอ็นเอ (transfer RNAtRNA)
     3.อาร์อาร์เอ็นเอ หรือ ไรโบโซมอล อาร์เอ็นเอ (ribosomal RNArRNA)




ดีเอ็นเอ(DNA)คืออะไร

ดีเอ็นเอ (DNA) คืออะไร (What is DNA ?)







     ดีเอ็นเอ (DNA)คือ ชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อแบบเต็มว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic Acid) ซึ่งเป็นจำพวกกรดนิวคลีอิ (กรดที่สามารถพบได้ในส่วนของใจกลางของเซลล์) ซึ่ง ดีเอ็นเอ (DNA) มักพบอยู่ในส่วนของนิวเคลียสของเซลล์ โดยพันตัวอยู่บนโครโมโซม(Chromosomeดีเอ็นเอ (DNA)มักพบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน (Human), สัตว์ (Animal), พืช (Plant), เห็ดและรา (Fungi), แบคทีเรีย (Bacteria), ไวรัส (Virus) (มีคนบางกลุ่มมีความเห็นว่า ไวรัสไม่ใช่สิ่งมีชีวิตเพราะมีองค์ประกอบบางอย่างไม่ครบ) เป็นต้น ดีเอ็นเอ (DNA) ทำการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งๆเอาไว้ ซึ่งมีลักษณะที่มีการผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ รุ่นพ่อและแม่ (Parent) ทั้งยังสามารถถ่ายทอดลักษณะไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือรุ่นลูก หรือ รุ่นหลาน (Offspring)



   

นิวคลีโอไทด์ของดีเอ็นเอ ประกอบด้วย

  •  น้ำตาลเพนโทส (คาร์บอน5 อะตอม) : ดีออกซีไรโบส 

  • ไนโตรเจนเบส Nitrogenous base)  : แบ่งออกเป็น2 ประเภทได้แก่  

                    - เบสพิวรีน (purine) : อะดีนีน (adenine : A ) และกวานีน (guanine : G ) วงแหวน 2  วง

      ***ช่วยจำ ให้จำว่าพิวรีนได้เงิน (Ag คือธาตุเงิน)




  

                -ไพริมิดีน (Pyrimidine) : ไซโตซีน (Cytosine : C) และ ไทมีน (Thymine : T) วงแหวน 1 วง 




   ·   หมู่ฟอสเฟส  (PO4-3)

          ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ(DNA) คือ ฟรีดริช มีเชอร์ (Johann Friedrich Miecher) ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ยังไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร จนในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก (James D. Watson and Francis Crick)เป็นผู้รวบรวมข้อมูล และสร้างแบบจำลองโครงสร้างของดีเอ็นเอ(DNA) (DNA Structure Model)จนทำให้ได้รับรางวัลโนเบล(Nobel Prize in Physiology or Medicine in 1962) และนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ (DNA Technology)